ภูมิปัญญาไทยในภาคเหนือ

11 Feb

http://yuikamonvadee.blogspot.com/2012/08/blog-post_22.html

io.

ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคเหนือ

                       มี ขันโตก     ฟ้อน(ดารารัศมี)    ซอ    บ้านกาแล  เครื่องมือดักสัตว์ 
เครื่องมือทำไร่ทำนา    ฟ้อนผี   งานแกะสลักไม้   ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคเหนือ   มีการขับซอ(คำผาย)     
แกะสลักช้าง(คำอ้าย)     การทำแหนม    สืบชะตาขุนน้ำ   บวชต้นไม้บวชป่า      การทำไม้ 
     การอพยพของคนไทยที่เข้ามาในภาคเหนือนั้น นอกจากจะปรับตัวให้เข้ากับ
การดำรงอยู่ของชาวไทยยวนหรือไทยโยนก ซึ่งถือว่าเป็นชนชาติกลุ่มใหญ่และชนชาติอื่นๆ
ที่อาศัยอยู่ตามพื้นที่ต่างๆแล้ว  ต้องเรียนรู้สิ่งแวดล้อมที่ประกอบด้วยเทือกเขาสูง  ที่ราบหรือ
แอ่งระหว่างเขา  โดยมีต้นน้ำลำธารไหลลงมาจากเทือกเขาลงสู่พื้นที่ราบต่ำเบื้องล่าง 
                    พื้นที่ภาคเหนือจึงเป็นแหล่งต้นน้ำใหญ่ ๔ สายคือ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง  แม่น้ำยม 
และ แม่น้ำน่าน    ต่างไหลลงไปรวมกันเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาของที่ราบกลางประเทศ    
                     นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำกกที่ไหลลงไปรวมกับแม่น้ำโขง ที่เป็นแม่น้ำใหญ่แบ่งเขตประเทศลาว
และราชอาณาจักรไทย และลำน้ำสายย่อยอีกหลายสายๆที่ไหลลงไปรวมกับแม่น้ำสาละวิน
ในเขตประเทศเมียนมาร์ ด้วยเหตุดังกล่าวนั้นพื้นที่ภาคเหนือจึงมีฝนตกตามฤดูกาลและให้น้ำแก่
แม่น้ำจำนวนมากจนพัดพาเอาปุ๋ยธรรมชาติจากป่าเขาที่อยู่บนเขาสูง   
ทำให้เกิดพื้นที่ปลูกข้าวและพืชพรรณธัญญาหารต่างๆ  ในไม่ช้าประมาณก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๘
กลุ่มไทยยวนจึงได้พากันตั้งชุมชนเมืองขึ้น
                   ในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ นั้นพระเจ้ามังราย แห่งอาณาจักรเชียงแสน ได้มีอำนาจเข้าครอบครอง
พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำกก เมืองเชียงราย ฝาง และเมืองต่างๆ ซึ่งเป็นที่ราบที่มีสายน้ำไหลลงไปรวมกับแม่น้ำโขง  
สร้างความเป็นปึกแผ่นจนสามารถขยายพื้นที่ครอบครองไปยังที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง   แม่น้ำวัง แม่น้ำยม
และแม่น้ำน่าน  ทำให้ฐานะของเมืองที่เคลื่อนย้ายนั้นได้พัฒนาตั้งเป็นเมืองที่มีหลักแหล่งถาวร
สร้างความเป็นเมืองขนาดใหญ่  เป็นศูนย์กลางของชุมชน  มีเมืองหรือหมู่บ้านตั้งอยู่กระจัดกระจาย
ตามที่ราบลุ่มระหว่างเขา
              ชุมชนทางภาคเหนือนั้นได้พัฒนาการสร้างเป็น นครรัฐ   ที่มีศูนย์กลางการปกครอง  
การค้าขาย   การศาสนาและวัฒนธรรม     ซึ่งเป็นการพัฒนาให้เกิดชุมชนเกษตรกรรมขนาดใหญ่
โดยจัดสร้างพื้นที่การทำนาโดยใช้วิธีน้ำท่วมขังหล่อเลี้ยงต้นข้าวขึ้น  แทนการทำนาทำไร่เลื่อนลอยบนที่สูง
และรู้จักการจัดการน้ำเข้าไปช่วยทำการเพาะปลูกที่เรียกว่า”เหมืองฝาย” โดยกั้นน้ำที่ไหลตามธรรมชาติ
ลงสู่ที่ต่ำสามารถไหลแยกไปตามแนวลำเหมืองเข้าพื้นที่ทำนา ที่ปลูกลดหลั่นอยู่ตามแนวที่ราบสูง 
จนสามารถปรับน้ำให้สามารถไหลกระจายลงมาใช้ทำนาได้ตามสภาพพื้นที่  
นับเป็นการสร้างสังคมของเกษตรกรรมขึ้นอย่างเป็นระบบ
             สำหรับเมืองใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางความเป็นนครรัฐในภาคเหนือนั้น ตัวเมืองจะมี
กำแพงเมืองล้อมรอบเวียง      ภายในกำแพงหรือในเวียง นั้นมีคุ้มเจ้าเมือง(คุ้มหลวง) 
ซึ่งอยู่ติดกับสนามชัยหรือสนามหลวง(ข่วง) ซึ่งมีวัดหัวข่วงอยู่ใกล้กัน  บ้านขุนนางและคนมีฐานะ(เจ้าของที่นา)จะอยู่ในเวียงนั้น 
            ส่วนหมู่บ้านในเวียงจะมีวัดและหนองน้ำขนาดใหญ่เป็นหลักอยู่ประจำหมู่บ้าน 
มีถนนและทางเดินไปยังหมู่บ้านอื่นๆได้       หนองน้ำนี้จะรับน้ำฝนจากลำเหมืองที่ขุดเอาดินถมเป็นดอน
ป้องกันน้ำท่วม  ซึ่งสามารถใช้เป็นเหมืองระบายน้ำออกไปยังคูเมืองและสู่ลำห้วยที่ไหลออกไปสู่แม่น้ำใหญ่  
โดยลำเหมืองนี้จะไหลผ่านหมู่บ้านที่อยู่นอกเมืองวกวนไหลผ่านทุ่งนาที่กว้างใหญ่  
นับว่าเป็นระบบชลประทานที่เกิดขึ้นสำหรับการทำนาในสมัยนั้น
                นอกเวียงนั้นก็มีหมู่บ้านขนาดใหญ่ตั้งเกาะกลุ่มอยู่บนที่ดอนจากดินขุดเหมือง
และตั้งอยู่เรียงรายตามแถบพนังของลำน้ำใหญ่ และลำห้วยหรือลำเหมือง  ซึ่งไหลผ่านทุ่งนากว้างไปยังแม่น้ำ 
ถัดจากทุ่งนาและหมู่บ้านก็เป็นป่าละเมาะ  ป่าไม้และทิวเขา  โดยมีเส้นทางเกวียนเป็นเส้นทางสัญจรไปมา
                  ดังนั้นนอกกำแพงจึงมีบ้านเรือนหนาแน่นตั้งรายล้อมกำแพงเมืองออกไป
หมู่บ้านนั้นมีผู้นำคอยดูแลชุมชนเหล่านั้น   ที่เมืองเชียงใหม่นั้นมี บ้านฮ่อม  บ้านเมืองก๋าย 
บ้านเมืองมาง บ้านเมืองสาตรเป็นต้น ตั้งล้อมอยู่รอบกำแพงเมืองเชียงใหม่
                 หมู่บ้านเหล่านี้มักสร้างขึ้นสำหรับให้เชลยศึกที่กวาดต้อนจากสงคราม
ซึ่งเป็น”ข้าปลายหอกงาช้าง”(เรียก”เก็บผักใช้ซ้า เก็บข้าใส่เมือง”)ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยทำกิน
                 ถัดจากหมู่บ้านก็เป็นป่าละเมาะ  แนวป่า และเทือกเขา  ซึ่งมีเส้นทางเกวียนใช้ติดต่อถึงกัน
และหมู่บ้านต่างๆก็เกาะกลุ่มอยู่ตามเส้นทางเกวียนนี้   แต่วัดที่เป็นหลักของหมู่บ้านจะตั้งห่างออกมา
และมักมีบริเวณป่าช้าแยกออกมาจากวัด      สำหรับดงไม้ที่มีต้นไม้ใหญ่ร่มรื่นนั้น
ชาวบ้านถือว่าเป็นบริเวณศักดิ์สิทธิที่เชื่อว่า มีผีเสื้อบ้าน สถิตอยู่  จึงมีการสร้างศาลหรือหอผีให้เป็น
คอยเฝ้าคุ้มครองหมู่บ้านและไร่นาของชาวบ้านหมู่นั้น
                ต่อมาเมื่อพุทธศาสนาเข้าไปมีบทบาทในการดำรงชีวิตตามหลักพุทธธรรมแล้ว
การสร้างวัดเพื่อเป็นแหล่งความรู้ทางธรรม   แนะนำการดำรงชีพร่วมกับธรรมชาติโดยอาศัยหลักธรรม
เป็นแนวทางปฏิบัติ ให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขนั้น    ทำให้มีการสร้างวัดเป็นหลักของหมู่บ้านทุกแห่ง
                พื้นที่ดอนสูงและที่ลาดเชิงเขาในภาคเหนือนั้น เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสำหรับการทำนา 
ชาวบ้านจึงทิ้งให้เป็น”ป่าละเมาะ”หรือ”ป่าแพะ”ตามธรรมชาติ เพื่อใช้ป่านี้เป็นแหล่งทรัพยากร
ที่มีค่าและอำนวยประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต  เช่นการหาฟืนเพื่อใช้หุงต้ม  หาไม้สร้างบ้าน 
หาสมุนไพรรักษาโรคภัยไข้เจ็บ  รวมทั้งพืชผักที่เป็นอาหารและเนื้อสัตว์  
โดยเฉพาะต้นไม้ที่สร้างความชุ่มชื่นให้แผ่นดิน  จึงเป็นป่าไม้เศรษฐกิจที่สำคัญต่อการดำรงชีพ
ขั้นพื้นฐานของชุมชนในป่า
              ในป่าแพะนั้นมีต้นไม้ตึงหรือไม้พลวง  หลังจากฤดูทำนาแล้วชาวบ้านจะอาศัยป่าแพะ
เข้าไปเก็บใบตึงแก่ เพื่อนำมาเย็บเป็นตับสำหรับซ่อมแซมหลังคาบ้าน  ในต้นฤดูฝนป่าแพะ
จะอุดมด้วยยอดอ่อนของใบไม้ เห็ดเผาะ(เห็ดถอบ)  เห็ดลม หน่อไม้ไร่ แมงมัน ผัดยอดหวาน
เป็นต้นสำหรับเป็นอาหาร
               ส่วนป่าที่มีต้นไม้ใหญ่  เช่นต้นยางนั้นจะมีผึ้งหลวงจำนวนมาก มีดอกไม่ป่าบานสะพรั่ง 
ยางไม้   ถือเป็น ป่าขุนน้ำ คือป่าขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร  อำนวยความชุมชื่นและ
ความอุดมสมบูรณ์ให้กับหมู่บ้าน  จึงทำให้มีการรักษาป่าขุนน้ำไว้
             เนื่องจากพื้นที่ภาคเหนืออุดมสมบูรณ์ด้วยป่าขุนน้ำ  และแหล่งต้นน้ำลำธาร 
อาชีพเที่ยวป่าเพื่อเก็บหาของป่าหรือล่าสัตว์เป็นอาหาร จึงเกิดขึ้นเสมอ
ในระยะแรกๆที่เกิดชุมชนใหม่ขึ้นในป่า หรือเกิดหมู่บ้านอยู่ติดกับป่าที่ถือว่าเป็น
แหล่งอาหารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ดังนั้นชาวบ้านจึงมีความเคารพต่อป่า
โดยแปรประโยชน์ที่จะได้จากป่าให้เป็นพิธีอธิษฐานให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยคุ้มครองป่าตลอดถึงห้วยหนอง
คลองบึง   มีการประกอบพิธีกรรม  บวงสรวงบูชาในฐานะ เจ้าขุนน้ำ เจ้าป่า และเจ้าเขา 
ทำให้เกิดความเชื่อเป็นประเพณีว่า  ก่อนที่จะเข้าป่าทุกครั้งชาวบ้านต้องแสดงคารวะด้วยการเซ่นไหว้เจ้าขุนน้ำ
เจ้าป่าและเจ้าเขา    พร้อมที่จะเข้าใจกฏเกณฑ์การหาของป่ามากขึ้นด้วย
               ดังนั้นเมื่อมีการตัดไม้ทำลายป่าและทำลายแหล่งต้นน้ำลำธารเกิดขึ้น
หมู่บ้านที่เคยอาศัยป่าเป็นแหล่งอาหารนั้น ย่อมเห็นคุณค่าของป่าและแหล่งน้ำมากกว่า 
แม้จะมีความคิดรักษาสภาพของป่าและดูแลแหล่งแม่น้ำลำธารให้มีสภาพเป็นแหล่งอาหาร
ทางธรรมชาติเหมือนเดิม
               ภูมิปัญญาในการจัดการเรียนรู้อย่างเข้าใจและสร้างการทำงานเพื่อให้ได้ผลสำเร็จ
ตามที่ต้องการนั้น   หากไม่มีภูมิปัญญาเข้าไปให้ความรู้   ด้วยการคิดผสมผสานวิธีการไปสู่ความสำเร็จ
และ ความร่วมมืออย่างแพร่หลาย มีกลุ่มทำงานตามองค์ความรู้นั้นๆแล้ว    
ปัญหาที่เกิดขึ้นก็จะเพิ่มขึ้นและหารูปแบบที่นำไปสู่ความสำเร็จได้ยาก  ดังตัวอย่าง  เช่น
พระครูพิทักษ์นันทคุณ จังหวัดน่าน ภูมิปัญญาที่ชี้ให้เห็นผลของการตัดไม้ทำลายป่า
และเริ่มปลูกป่าสำหรับชุมชนขึ้นท่ามกลางการประกาศเขตป่าสงวน
ชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ของมนุษย์กับป่าชุมชน  สร้างกลุ่มฮักเมืองน่านสร้างกิจกรรมรักแม่น้ำน่าน
และอนุรักษ์พันธ์ปลาอย่างแพร่หลาย โดยการบวชต้นไม้ และการสืบชะตาแม่น้ำ 
เป็นภูมิปัญญาที่สร้างความรักแผ่นดินให้เกิดขึ้นในหัวใจด้วยพุทธธรรม